วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

เอลฟ์( Elf ) part 2



      เอลฟ์ ในตำนานนอร์ส เรื่องของเอลฟ์ที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในตำนานปรัมปราของพวกนอร์ส ในปกรณัมนอร์สโบราณเรียกพวก เอลฟ์ว่า อัลฟาร์ (álfar) อย่างไรก็ดี แม้จะไม่มีหลักฐานที่เก่าแก่กว่าหรือหลักฐานในยุคเดียวกันกับพวกนอร์ส แต่ชื่อ อัลฟาร์ ก็มีความเกี่ยวพันอยู่อย่างมากในนิทานพื้นบ้านหลาย แห่งจนอาจเชื่อได้ว่า เอลฟ์ เป็นที่รู้จักอยู่ทั่วไปนานแล้วในหมู่ชนเผ่าเยอรมัน ไม่ได้เป็นที่รู้จักแต่เพียงในหมู่สแกนดิเนเวียนโบราณเท่านั้น
      ไม่มีแหล่งข้อมูลใดอธิบายได้ชัดเจนว่าเอลฟ์คืออะไร แต่พวกเอลฟ์ดูจะเป็นที่รู้จักในฐานะสิ่งมีชีวิตขนาดเดียวกันกับมนุษย์ มีพลังอำนาจมากและสวยงามมาก มีมนุษย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนได้รับยกย่องให้เป็นเอลฟ์หลังจากเสียชีวิตไป แล้ว เช่น กษัตริย์ โอลาฟ เกย์สตัด-เอลฟ์ (Olaf Geirstad-Elf) หรือ วีรบุรุษนาม โวลุนด์ (Völundr) ก็ถูกกล่าวขานว่าเป็น "ผู้เป็นใหญ่แห่งเอลฟ์" (vísi álfa) หรือว่าเป็น "หนึ่งในหมู่เอลฟ์" (álfa ljóði) ดังปรากฏในบทกวี Völundarkviða ซึ่งในวรรณกรรมร้อยแก้วยุคหลังระบุว่าเขาเป็นโอรสของกษัตริย์แห่ง "ฟินนาร์" (Finnar) อันเป็นพลเมืองแถบขั้วโลกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีเวทมนตร์ (หมายถึงพวก ซามี (Sami)
      ในมหากาพย์ไทเดรค ราชินีชาวมนุษย์ผู้หนึ่งต้องประหลาดใจเป็นล้นพ้นเมื่อพบว่าคนรักของนางเป็น เอลฟ์ ไม่ใช่มนุษย์ นอกจากนี้ในมหากาพย์ Hrolf Kraki กษัตริย์องค์หนึ่งชื่อ เฮลกิ (Helgi) ขืนใจนางเอลฟ์ตนหนึ่งจนตั้งครรภ์ นางเอลฟ์ผู้นี้กล่าวกันว่าคลุมร่างด้วยผ้าไหมและเป็นสตรีที่สวยงามที่สุด เท่าที่คนเคยพบ
      สายเลือดผสมระหว่างเอลฟ์กับมนุษย์น่าจะเริ่มต้นมาจากความเชื่อเก่าแก่ใน ตำนานนอร์สโบราณนี้เอง ราชินีชาวมนุษย์ผู้มีคนรักเป็นเอลฟ์ให้กำเนิดวีรบุรุษคนหนึ่งชื่อ Högni ส่วนนางเอลฟ์ซึ่งถูกกษัตริย์เฮลกิขืนใจให้กำเนิดธิดานามว่า สกุลด์ (Skuld) ภายหลังได้วิวาห์กับ Hjörvard ซึ่งเป็นผู้สังหาร Hrólfr Kraki ในมหากาพย์ Hrolf Kraki เล่าว่า สกุลด์ผู้เป็นลูกครึ่งเอลฟ์มีอำนาจวิเศษทางเวทมนตร์ และไม่มีใครสามารถเอาชนะในการศึกกับนางได้เลย เมื่อนักรบคนใดของนางถูกสังหาร นางจะเสกให้เขาลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อไป หนทางเดียวที่จะเอาชนะนางได้คือต้องจับตัวนางเสียก่อนที่นางจะเรียกรวมกอง ทัพของนางได้ ซึ่งรวมถึงกองทัพเอลฟ์ด้วย
       ในมหากาพย์ Heimskringla และมหากาพย์ธอร์สไตน์ (Thorstein) มีการบันทึกลำดับสันตติวงศ์ของกษัตริย์ผู้ครอง อัล์ฟเฮม ดินแดนซึ่งสอดคล้องกับแคว้น Bohuslän ในสวีเดนกับแคว้น Østfold ในนอร์เวย์ กษัตริย์เหล่านี้สืบทอดเชื้อสายมาจากเอลฟ์ จึงกล่าวกันว่าเป็นผู้ที่งดงามยิ่งกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป
      แผ่นดินซึ่งปกครองโดยพระราชาอัลฟ์มีชื่อเรียกว่า อัล์ฟเฮม ทายาทของพระองค์ล้วนเป็นผองญาติของเอลฟ์ พวกเขางดงามยิ่งกว่าชนทั้งหลายกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้มีชื่อว่า แกนดัล์ฟ (Gandalf)
       นักประวัติศาสตร์และ นักเทววิทยาชาวไอซ์แลนด์ชื่อ Snorri Sturluson เรียกพวกคนแคระ (dvergar) ว่า "เอลฟ์มืด" (dark-elves: dökkálfar) หรือ "เอลฟ์ดำ" (black-elves: svartálfar) สิ่งนี้สะท้อนถึงความเชื่อในยุคกลางของสแกนดิเนเวียนหรือไม่ยังไม่แน่ชัด แต่เขาเรียกพวกเอลฟ์อื่นๆ ว่า เอลฟ์สว่าง (light-elves: ljósálfar) ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องระหว่างพวกเอลฟ์กับเทพเฟรย์ (Freyr) ผู้เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์(รูปอยู่ด้านบนครับ) Snorri บรรยายความแตกต่างของพวกเอลฟ์ไว้ว่า
        "มีที่แห่งหนึ่งบนนั้น [ในห้วงเวหา] เรียกชื่อว่า นิวาสเอลฟ์ (Elf Home หรือ Álfheimr อัล์ฟเฮม) ผองชนผู้อาศัยอยู่ที่นั่นเรียกว่า เอลฟ์สว่าง (light elves: Ljósálfar) ส่วนพวกเอลฟ์มืด (dark elves: Dökkálfar) อาศัยอยู่ใต้พื้นโลก พวกเขามีร่างปรากฏไม่เหมือนกัน ทั้งมีความจริงแท้แตกต่างกันยิ่งกว่า เอลฟ์สว่างมีร่างปรากฏสว่างไสวยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ แต่พวกเอลฟ์มืดนั้นดำสนิทยิ่งกว่าห้วงเหว"
        เอลฟ์ ในตำนานสแกนดิเนเวีย ในนิทานพื้นบ้านของชาวสแกนดิเนเวีย ซึ่งได้ผสมผสานกลืนไปกับตำนานปรัมปราของนอร์สกับตำนานของชาวคริสเตียน เรียกชื่อ "เอลฟ์" ออกไปต่างๆ กัน กล่าวคือ elver ในภาษาเดนมาร์ก/ alv ในภาษานอร์เวย์/ alv หรือ alva ในภาษาสวีเดน (คำแรกใช้เรียกเอลฟ์ชาย คำหลังใช้เรียกเอลฟ์หญิง) /แต่คำเรียกของชาวนอร์เวย์มักไม่ใคร่พบเห็นในตำนานพื้นบ้านเท่าใดนัก หากพวกเขาต้องการเอ่ยถึงก็มักใช้คำอื่นคือ huldrefolk หรือ vetter ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ขุดรูอาศัยอยู่ใต้พิภพ คล้ายคลึงกับพวกคนแคระในตำนานนอร์สมากกว่าพวกเอลฟ์ หากเทียบกับตำนานไอซ์แลนด์จะเปรียบได้กับชาว huldufólk (ชนผู้ซ่อนตัว)
       เอลฟ์ในตำนานของเดนมาร์กและสวีเดนจะแตกต่างไปจากพวก vetter ทั้ง ๆ ที่ดินแดนของพวกเขาประชิดแทบเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วนภูตตัวเล็กมีปีกเหมือนแมลงในตำนานของชาวบริเตนจะเรียกว่า "älvor" ในคำสวีเดนยุคใหม่ หรือ "alfer" ในภาษาเดนมาร์ก ชาว "alf" ปรากฏในเทพนิยายเรื่องหนึ่งของ เอช. ซี. แอนเดอร์เซน นักเขียนชาวเดนมาร์ก เรื่อง เอลฟ์แห่งกุหลาบ (The Elf of the Rose) โดยที่เขามีตัวเล็กมากจนสามารถใช้ดอกกุหลาบเป็นบ้านได้ อีกทั้งยังมีปีกซึ่ง "ยาวจากไหล่จดปลายเท้า" ทว่าแอนเดอร์เซนยังได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับเอลฟ์อีกเรื่องหนึ่งคือ The Elfin Hill เอลฟ์ในเรื่องนี้กลับไปคล้ายคลึงกับเอลฟ์ในนิทานพื้นบ้านเก่าแก่ของเดนมาร์ก คือเป็นสตรีผู้สวยงาม อาศัยอยู่ตามเนินเขาและภูผา สามารถเต้นรำกับชายหนุ่มจนกระทั่งเขาสิ้นชีวิต หากมองพวกนางจากด้านหลังจะเห็นเพียงความว่างเปล่า เช่นเดียวกับ ฮุลดรา (huldra) ในตำนานของนอร์เวย์และสวีเดน
       เอลฟ์ในตำนานนอร์สซึ่งปรากฏร่องรอยอยู่ในลำนำพื้นบ้านส่วนใหญ่มักเป็น ผู้หญิง อาศัยอยู่ตามป่าเขาหรือหมู่หิน älvor ของชาวสวีเดน (เอกพจน์เรียก älva) เป็นเหล่าเด็กหญิงผู้งดงามจนน่าตื่นตะลึง อาศัยอยู่ในป่ากับกษัตริย์เอลฟ์ พวกนี้มีอายุยืนยาวมากและมักรื่นเริงไร้แก่นสาร ภาพวาดของพวกเอลฟ์มักเป็นภาพชนสวยงามผมสีอ่อน สวมเสื้อผ้าสีขาว แต่ก็ดุร้ายเกรี้ยวกราดหากถูกบุกรุก (เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในลำนำพื้นบ้านของสแกนดิเนเวีย)
        ในนิทาน พวกเขามักรับบทเป็นวิญญาณแห่งความเจ็บป่วย เรียกว่า älvablåst (สายลมแห่งเอลฟ์) ซึ่งปกติแล้วจะไม่เป็นอันตราย แต่มักเกิดเหตุขึ้นเสมอหากพวกเขาถูกทำให้ขุ่นเคือง สามารถรักษาได้โดยใช้แรงลมต้าน Skålgropar ที่สร้างจากเครื่องเป่าลม พบในงานสลักโบราณของสแกนดิเนเวีย ในยุคเก่าแก่เรียกกันว่า älvkvarnar หรือ เครื่องสีของเอลฟ์ (elven mills) ซึ่งสื่อถึงความเชื่อของพวกเขา มนุษย์อาจเอาอกเอาใจพวกเอลฟ์ได้โดยการเสนอสิ่งของที่พวกเขาชื่นชอบ (ส่วนมากมักเป็นเนย) โดยวางเอาไว้ในเครื่องสีของเอลฟ์ สิ่งนี้อาจเป็นกำเนิดของวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกอยู่ในหมู่นอร์สโบราณ ที่เรียกว่า álfablót
        หากมนุษย์เฝ้ามองมองเริงระบำของพวกเอลฟ์ เขาจะรู้สึกว่าตนกำลังแลดูการเต้นรำนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ความเป็นจริงเวลาได้ล่วงผ่านไปนานหลายปี (ปรากฏการณ์ทางเวลานี้มีปรากฏในวรรณกรรมของโทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน เมื่อธิงโกลเฝ้าดูเทพีเมลิอัน นอกจากนี้ยังปรากฏในตำนานของไอริช เกี่ยวกับ sídhe ด้วย) ลำนำบทหนึ่งในช่วงปลายของยุคกลางเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Olaf Liljekrans เขาได้รับเชิญจากราชินีเอลฟ์ให้เต้นรำด้วยกัน แต่เขาปฏิเสธเพราะรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเขาเข้าร่วมการเต้นรำนั้น ขณะนั้นเขากำลังเดินทางกลับบ้านเพื่อไปสู่งานวิวาห์ของตน ราชินีเสนอของขวัญให้แก่เขา แต่เขาก็ปฏิเสธอีก นางจึงขู่จะฆ่าเขาหากเขาไม่ยอมเข้าร่วม เขาขี่ม้าหนีไป แต่ก็ตายหลังจากนั้นด้วยโรคร้ายที่ราชินีส่งตามหลังเขามา เจ้าสาวผู้อ่อนเยาว์ของเขาก็เสียชีวิตตามไปด้วยหัวใจแหลกสลาย
         เอลฟ์ ในตำนานเยอรมัน  เอลฟ์ ในภาษาแซกซอนโบราณเรียก alf  เยอรมันยุคกลางชั้นสูงเรียก alb หรือ alp (พหูพจน์ elbe, elber) ส่วนในภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก alb (ตามที่ปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 13)  เอลฟ์ดั้งเดิมในตำนานเยอรมันยุคคนเถื่อนนอกศาสนา เป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่องสว่างอาศัยอยู่บนสวรรค์ ทั้งนี้อาจหมายรวมถึงพวกเอลฟ์มืดและคนแคระที่อาศัยอยู่ใต้พิภพด้วย (ดังที่เข้าใจว่าคล้ายคลึงกับพวก álfr ในตำนานนอร์สโบราณ) ในลำนำพื้นบ้านหลังยุคคริสเตียน เริ่มมีการพรรณนาถึงพวกเอลฟ์ว่าเป็นกลุ่มชนซุกซนชอบเล่นแผลงๆ นำความเจ็บป่วยมายังผู้คนและสัตว์เลี้ยง รวมถึงนำเอาฝันร้ายมาใส่ผู้นิทราด้วย คำในภาษาเยอรมันที่หมายถึงฝันร้าย คือ Albtraum มีความหมายตรงตัวว่า "ฝันของเอลฟ์" คำเก่าแก่กว่านั้นคือ Albdruck มีความหมายว่า "แรงกดของเอลฟ์" เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ฝันร้ายเกิดจากการที่เอลฟ์มานั่งทับอยู่บนทรวงอกของผู้ฝัน ความเชื่อเกี่ยวกับเอลฟ์ในตำนานเยอรมนี้สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับความเชื่อ อย่างหนึ่งในตำนานสแกนดิเนเวียเกี่ยว กับ มารา คือจิตภูตสตรีผู้ร้ายกาจที่บันดาลให้เกิดฝันร้าย นอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับตำนานว่าด้วย incubus และ succubus
        กษัตริย์เอลฟ์มีปรากฏอยู่ในตำนานค่อนข้างน้อย ไม่เหมือนเหล่าเอลฟ์สตรีผู้มีอำนาจมากมายดังในตำนานของเดนมาร์กและสวีเดน มหากาพย์ยุคกลางของเยอรมันเรื่องหนึ่งชื่อ Nibelungenlied มีตัวละครเอกตัวหนึ่งเป็นคนแคระนามว่า Alberich คำนี้มีความหมายตรงตัวแปลว่า "กษัตริย์เอลฟ์ผู้ทรงอำนาจ" ความสับสนปนเประหว่างเอลฟ์กับคนแคระนี้มีปรากฏสืบต่อมาอยู่ในจารึกเอ็ดดา (Edda) ด้วย ชื่อของตัวละครนี้ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Alberon ในเวลาต่อมาได้ปรากฏในวรรณกรรมอังกฤษในชื่อ Oberon ในฐานะกษัตริย์แห่งเอลฟ์และภูตทั้งหลายในบทละครเรื่อง ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน ของ เชกสเปียร์
        ในเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์เรื่องแรก คือ Die Wichtelmänner ตัวเอกซึ่งมีชื่อเดียวกับชื่อเรื่องเป็นหุ่นเปลือยสองตัวซึ่งทำงานช่วยช่าง ทำรองเท้า เมื่อช่างให้รางวัลแก่พวกเขาเป็นเศษผ้าชิ้นเล็กๆ พวกเขาก็ดีใจมาก แล้ววิ่งหนีหายไปไม่มีใครพบอีกเลย Wichtelmänner เป็นภูตเล็กๆ ชนิดหนึ่งทำนองเดียวกับคนแคระ kobold และ brownie แต่เมื่อบทประพันธ์ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ กลับมีชื่อเรื่องว่า เอลฟ์กับ ช่างทำรองเท้า (The Elves and the Shoemaker) แนวคิดนี้ยังได้สะท้อนต่อมาอยู่ในวรรณกรรมของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในลักษณะของ เอลฟ์ประจำบ้าน
         เอลฟ์ ในตำนานอังกฤษ คำว่า เอลฟ์ (elf) เป็นคำภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งนำมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า ælf (พหูพจน์ ælfe) คำนี้มาสู่บริเตนได้โดยผ่านชาวแองโกล-แซกซอน ยังมีคำที่หมายถึง นางพรายน้ำ (nymph) ในตำนานกรีกและโรมัน ที่แปลมาโดยปราชญ์ชาวแองโกลแซกซอนว่า ælf และเพี้ยนเสียงไปเป็นคำต่างๆ
         มีเหตุผลเพียงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า เอลฟ์ของแองโกลแซกซอน น่าจะคล้ายคลึงกับเอลฟ์ในตำนานนอร์สโบราณ กล่าวคือ มีลักษณะเหมือนมนุษย์ รูปร่างสูงใหญ่เหมือนอย่างมนุษย์ มักมีผู้นำเป็นหญิง สามารถให้ความช่วยเหลือหรือทำอันตรายแก่มนุษย์ที่ประสบกับพวกเขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง æsir กับ álfar ที่พบในจารึกเอ็ดดา เป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงงานเขียนเรื่อง Wið færstice ในตำนานอังกฤษโบราณ รวมถึงเป็นที่มาของคำว่า os และ ælf ในชื่อภาษาแองโกลแซกซอนด้วย (เช่น Oswald หรือ Ælfric)
        ในแง่ของความงดงามของเอลฟ์ในตำนานนอร์ส มีคำในภาษาอังกฤษโบราณบางคำ เช่น ælfsciene ("งามดั่งเอลฟ์") สำหรับใช้ในการบรรยายความงามอันยั่วยวนของสตรีบางคนในพระคริสตธรรมคัมภีร์ เช่นในบทกวีอังกฤษโบราณเรื่อง Judith และ Genesis A เป็นต้น ในชุมชนหลายแห่งตลอดทั่วอังกฤษมักมีความเชื่อต่อพวกเอลฟ์ว่าเป็นพวกที่สวย งามและชอบช่วยเหลือคน   แต่ในส่วนของแองโกลแซกซอนแล้ว พวกเอลฟ์เป็นเหมือนกับปีศาจ ตัวอย่างดังเช่นที่ปรากฏในบทกวีเรื่อง เบวูล์ฟ บรรทัดที่ 112 ในอีกทางหนึ่ง oaf ซึ่งเป็นคำที่เพี้ยนมาจาก elf เชื่อว่ามีความหมายเดิมสื่อถึงความลุ่มหลงงมงายอันเกิดจากเวทมนตร์มายาของ พวกเอลฟ์
        เรื่องของเอลฟ์ปรากฏอยู่มากมายในบทลำนำดั้งเดิมของอังกฤษและสก็อตแลนด์ รวมถึงนิทานพื้นบ้านทั้งหลาย โดยมากเกี่ยวกับเรื่องการเดินทางไปยัง เอลป์เฮม (Elphame หรือ Elfland แดนเอลฟ์ คำเดียวกันกับ อัล์ฟเฮม (Álfheim) ในตำนานนอร์ส) ดินแดนลี้ลับที่น่าหวาดหวั่น บางครั้งภาพวาดของเอลฟ์จะเป็นโครงร่างแสงสว่าง เช่นราชินีแห่งเอลป์เฮมในบทลำนำ Thomas the Rhymer กระนั้นก็มีตัวอย่างมากมายที่เอลฟ์เป็นตัวละครอันแสนชั่วร้าย มักเป็นขโมยหรือฆาตกร เช่นใน Tale of Childe Rowland หรือลำนำ Lady Isabel and the Elf-Knight ซึ่งอัศวินเอลฟ์ลักพาตัวอิซาเบลไปเพื่อสังหารเสีย เอลฟ์ในบทลำนำเหล่านี้มักเป็นเพศชาย มีเอลฟ์หญิงแต่เพียงคนเดียวคือราชินีแห่งแดนเอลฟ์ที่ปรากฏในลำนำ Thomas the Rhymer เท่านั้น แต่ในบรรดาตำนานทั้งหมดนี้ไม่มีเรื่องไหนเลยที่เอลฟ์เป็นภูตพรายร่างเล็กจิ๋ว
         นิทานพื้นบ้านของอังกฤษในช่วงต้นยุคใหม่นี้เองที่เริ่มวาดภาพเอลฟ์เป็น ผองชนตัวเล็กๆ ผู้ว่องไวและซุกซน แม้จะไม่ใช่ปีศาจแต่ก็มักสร้างความรำคาญแก่มนุษย์หรือขัดขวางกิจธุระให้เสียหาย บางครั้งเล่ากันว่าพวกเอลฟ์สามารถหายตัวได้ ตำนานในลักษณะนี้ เอลฟ์มีความคล้ายคลึงกับพวกภูตมากขึ้น
         ในเวลาต่อมา คำว่า เอลฟ์ และ ภูต เริ่มนำมาใช้แทนความหมายของจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติในหลายๆ รูปแบบ ดังเช่น พัค ฮอบกอบลิน โรบิน กู้ดเฟลโลว์ และอื่นๆ คำเหล่านี้และคำใกล้เคียงในหมู่ภาษายูโรเปียนอื่นๆ ก็ไม่ได้สื่อความหมายถึงชนเผ่าในตำนานพื้นบ้านอีกต่อไป
         เอลฟ์ในตำนานคริสต์มาส  พวกเอลฟ์ คือ คนชนิดหนึ่งที่มีใบหูแหลมและยาวมาก และมีตัวเตี้ย พวกเอลฟ์ จะทำของขวัญให้ซานต้าเพื่อไปแจกเด็กๆในวันคริสมาส พวกเอลฟ์ต้องทำงานหนักในนคริสมาส เพื่อแจกของขวัญให้แก่เด็ก
         จากที่กล่าวมาอาจสรุปได้ว่า ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อเหล่าอมนุษย์นั้นได้เกิดขึ้นมาอย่าง ยาวนาน และได้แบ่งอมนุษย์ออกเป็นสองประเภทคราว ๆ คือ ประเภทแรกสืบทอดทางสายเลือด หรือเป็นตั้งกำเนิด ประเภทที่สองมาจากการกระทำผิด หรือโดนคำสาปคือ ไม่ได้เป็นตั้งแต่กำเนิดนั้นเองซึ่งจากความเชื่อที่ได้ยกตัวอย่างมานั้นอมนุษย์มีทั้งพวกที่จิตใจชั่วร้าย เลวทราม และ จิตใจงดงาม บริสุทธิ์ ทำให้รู้ว่า เรานั้นไม่สามารถตัดสินเหล่าพวกได้จากรูปร่างหรือเพียงแค่มี สายเลือดเผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกัน

โดย Elf ได้ปรากฎตัวในภาพยนต์และอนิเมชั่นเรื่อง


sword art online ll




                                                        The Hobbit


 The lord of the ring




เอลฟ์( Elf ) part 1

 

เอลฟ์( Elf ) 

 



         จากตำนานกล่าวว่า เอลฟ์ - Elf หรือ พรายคือสิ่งมีชีวิตในตำนานของนอร์ส ซึ่งว่ากันว่าอาศัยอยู่ตามภาคเหนือของยุโรป เอลฟ์ส่วนมากจะมีรูปลักษณ์หน้าตาที่สวยงามอยู่ตามป่าเขาธรรมชาติ พวกเขาจะถูกกล่าวว่าเป็นอมตะ และมีเวทมนตร์ นอกจากจะถูกกล่าวถึงในตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวียแล้ว เอลฟ์ยังถูกกล่าวถึงในที่อื่นๆด้วย โดยเฉพาะในเรื่องที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขียน เอลฟ์จะมีสายตาดีมองเห็นได้กว้างไกล และมักใช้ธนูเป็นอาวุธ
         เอลฟ์เป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีงาม เป็นอมตะ ทรงภูมิปัญญาและเป็นมิตรที่ดีของมนุษย์ ในเรื่องความเป็นอมตะนั้น โทลคีนได้อธิบายว่า พวกเอลฟ์สามารถถูกฆ่าตายได้ หากแต่วิญญาณจะกลับมาเข้าร่างใหม่ที่เหมือนกับร่างเดิมพร้อมกับความทรงจำที่ต่อเนื่องจากเดิม ข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งสำหรับพวกเอลฟ์ใน ก็คือเอลฟ์ในเรื่องนี้จะมีรูปร่างสูงใหญ่สง่างาม ผิดจากเอลฟ์ในนิทานพื้นบ้านยุโรปที่จะเป็นมนุษย์แคระตัวเท่าเด็ก หรือเอลฟ์ใน แฮรี พอตเตอร์ ที่ดูเหมือนสัตว์ประหลาด
         ทั้งนี้โทลคีนสร้างเอลฟ์ขึ้นมาจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวยุโรปในยุคก่อนหน้า ที่ศาสนาคริสต์จะเข้ามามีบทบาท ในความเชื่อดั้งเดิมนั้น เอลฟ์คือเผ่าพันธุ์ กึ่งมนุษย์กึ่งเทพเป็นเผ่าพันธุ์ที่ต่ำกว่าเทพแต่เหนือกว่ามนุษย์ ดังนั้นเอลฟ์จึงมีลักษณะสูงใหญ่และสง่างาม ต่อมา เมื่อความเชื่อในศาสนาคริสต์เข้ามาในยุโรป ความคิดที่ว่ามีเผ่าพันธุ์ที่เหนือกว่ามนุษย์จึงหมดไป และเอลฟ์ก็ถูกลดขนาดลงอย่างที่เห็น ในเกมคอมพิวเตอร์ และในหนังผจญภัยต่าง ๆ ก็มักมีเรื่องของเอลฟ์ปรากฏอยู่         
 ตำนานโบราณบางแห่งได้บันทึกเรื่องราวของภูตพวกเอลฟ์ตนหนึ่ง นางเอลฟ์ผู้นี้คลุมร่างด้วยผ้าไหมและเป็นสตรีร่างเล็ก ๆ ที่สวยงามที่สุดเท่าที่คนเคยพบ กษัตริย์เฮลกิออกไปเที่ยวป่าได้พบภูตตนนี้เข้าจึงถึงกับอดใจไม่ไหว เอลฟ์ในนิยายปรัมปรามักอาศัยอยู่ในลำนำพื้นบ้าน ส่วนใหญ่มักเป็นภูตเพศหญิงชาวสวีเดนก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเอลฟ์ ว่าเป็นเหล่าภูตเด็กหญิงผู้งดงามน่าตื่นตะลึง อาศัยอยู่ในป่ากับกษัตริย์เอลฟ์ พวกเอลฟ์มีอายุยืนยาวมาก และมักรื่นเริงไร้แก่นสาร วัน ๆ จะร้องเพลง ร่ายรำไปอย่างมีความสุข แต่บางที่ก็บอกว่าเอลฟ์จะดูร้ายเกรี้ยวกราดหากถูกบุกรุก ปกติแล้วจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าถูกทำให้โมโหก็จะตอบโต้อย่างน่ากลัว
        แม้จะมีร่างเล็ก แต่ก็มีมนุษย์ที่หลงรักภูตเอลฟ์ สายเลือดผสมระหว่างเอลฟ์กับมนุษย์จึงเริ่มต้นมาจากความเชื่อเก่าแก่ในตำนานนอร์สโบราณ เมื่อมีราชินีชาวมนุษย์ผู้หนึ่ง ได้รักกับภูตเอลฟ์และได้เสียกันจนให้กำเนิดวีรบุรุษคนหนึ่ง ชื่อ ฮอกนีย์ ส่วนนางเอลฟ์ซึ่งถูกกษัตริย์เฮลกิขืนใจให้กำเนิดธิดานามว่า สกุลด์ ในมหากาพย์ หลายเรื่องของตะวันตกเล่าว่าพวกที่สืบทอดเชื้อสายมาจากเอลฟ์มักจะเป็นผู้ที่งดงามยิ่งกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป แต่พวกเอลฟ์ในตำนานของเดนมาร์กจะแต่ต่างไปอีกแบบ เพราะบันทึกไว้ว่าพวกเอลฟ์เป็นภูตตัวเล็กมีปีกเหมือนแมลงตัวเล็ก ๆ เคยมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ เอลฟ์แห่งกุหลาบ ซึ่งหมายถึง พวกที่มีตัวเล็กมากจนสามารถใช้ดอกกุหลาบเป็นบ้านได้ ในนิทานพื้นบ้านเก่าแก่ ของเดนมาร์ก เล่าถึงเอลฟ์ว่า เป็นภูตสาวผู้สวยงามอาศัยอยู่ตามเนินเขา นางจะสามารถเต้นรำกับชายหนุ่มจนกระทั่งเขาสิ้นใจตาย
       ว่ากันว่า ถ้ามนุษย์ใดหลงเข้าไปในป่าลึกแล้วไปแอบดูพวกเอลฟ์เริงระบำกันอยู่นั้น ช่วงเวลาที่เฝ้ามองการเริงระบำของพวกเอลฟ์มนุษย์จะรู้สึกว่าตนกำลังแลดูการเต้นรำนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ทว่าความเป็นจริงเวลาได้ล่วงผ่านไปนานหลายปีเชียวล่ะ ความสัมพันธ์ระหว่างเอลฟ์กับมนุษย์ที่น่าเศร้ามีปรากฎในวรรณกรรมของ เรื่อง ชิลมาริลลิออน ชายหนุ่มผู้เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ได้รับเชิญจากราชินีเอลฟ์ให้ไปเต้นรำด้วยกันในงานเลี้ยง แต่เขาปฎิเสธเพราะรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากเขาเข้าร่วมการเต้นรำนั้น วันต่อมาขณะที่เขากำลังเดินทางกลับบ้านเพื่อไปงานวิวาห์ของตนเอง ราชินีเอลฟ์เสนอของขวัญให้แก่เขา แต่เขาปฎิเสธ นางจึงขู่จะฆ่าเขาหากเขาไม่ยอมเต้นรำกับนาง เขารีบขี่ม้าหนีไป แต่ก็ต้องตายด้วยโรคร้ายที่ราชินีเสกมนตร์ส่งโรคร้ายให้ติดตามไปเจ้าสาว ของเขาทราบข่าวก็หัวใจสลายและตรอมใจตายเขาไปด้วย
        ทางฝั่งเยอรมันเล่าเรื่องภูตเอลฟ์ว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่องสว่างอาศัยอยู่บนสวรรค์ บ้างก็ว่าพวกเอลฟ์ว่าเป็นภูตที่ซุกซนชอบเล่นแผลง ๆ นำความเจ็บป่วยมายังผู้คนและสัตว์เลี้ยง บางครั้งก็นำเอาฝันร้ายมาให้ผู้ที่กำลังนอนหลับด้วยสมัยก่อนในสแกนดิเนเวีย เวลาใครเจอผีอำ คือ รู้สึก เหมือนโดนทับที่หน้าอกจนขยับตัวไม่ได้ ก็จะโทษว่าเป็นเพราะภูตเอลฟ์มานั่งทับ ทางอังกฤษเล่าเรื่องเอลฟ์ว่าเป็นภูตที่มีแต่เงา ร่างเป็นแสงสว่าง มีทั้งเอลฟ์สว่างและเอลฟ์มืด สามารถหายตัวได้ และเป็นภูตที่ฉลาดรอบรู้มาก อย่างไรก็ดี เอลฟ์เป็นภูตที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ในหนังสือแฮรี่ พอตเตอร์มีพวกเอลฟ์เป็นภูตที่เป็นเหมือนสัตว์ประหลาด ในขณะที่หนังและเกมส์ต่าง ๆ ก็แสดงตัวตนของเอลฟ์ว่าเป็นภูตร่างเล็ก ที่ไม่มีพิษภัยกับมนุษย์
        ส่วนตำนานของดาร์คเอลฟ์กล่าวว่า ดาร์คเอลฟ์กก็คือเอลฟ์ที่ใช้ความมืดมากกว่าเวทย์มนต์ด้านแสงสว่าง พวกดาร์คเอลฟ์ส่วนมากจะฉลาดแกมโกงแถมยังมีนิสัยเจ้าเลห์ โดยปกติมักจะซ่อนตัวอยู่ภายในป่ามืด
         ดาร์คเอลฟ์แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า " บราวน์เอลฟ์ " และเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อสายเอลฟ์ แต่ถูกเนรเทศเนื่องจากบราวน์เอลฟ์ร่ำเรียนแต่มนต์ดำเพื่อไปต่อสู้กับมนุษย์ แม้ว่าจะแพ้สงครามในคราวนั้นแต่ก็ยังคงร่ำเรียนมนต์ดำกันอยู่และอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านอาร์ซินเลส อาณาจักรวิจิตรตระการตาที่สร้างกันใต้ดิน
        ดาร์คเอลฟ์มีลักษณะคล้ายเอลฟ์ เพียงแต่มีสีผิวเข้มเนื่องจากกำเนิดจากเทพแห่งวายุและ บูชาเทพแห่งวายุใต้ดิน ดาร์คเอลฟ์หญิงมีลักษณะสวยงามมากๆหน้าตาเข้มโฉบเฉียว ดูลึกลับและเย่อหยิ่ง มีบุคลิกสง่างาม มีสรีระที่ชายทุกเผ่าพันธุ์หลงใหล  
       ดาร์คเอลฟ์มีสามารถพิเศษต่างๆคล้ายเอลฟ์ คือกลั้นหายใจในน้ำได้ดี คล่องแคล่ว ว่องไว และมีไหวพริบที่ดีมาก แต่เนื่องจากดาร์คเอลฟ์มีการฝึกฝนอย่างหนัก และค่อนข้างโหดร้าย จึงทำให้ดาร์คเอลฟ์มีพลังอำนาจทั้งการต้านเวทย์มนต์จากศัตรูและการร่ายเวทย์ที่มีอนุภาพรุนแรงเฉียบขาดกว่าเอลฟ์และเผ่าพันธุ์ใด ๆ แต่ข้อเสียคือแทบจะไม่มีเวทย์มนต์รักษาเลย
       บางตำนานกล่าวว่า เอลฟ์  ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'
       โทลคีนมักกล่าวเสมอว่า การตั้งชื่อต่าง ๆ ในผลงานของเขา มีเหตุจากรากฐานของเสียงและคำศัพท์ในภาษาเฉพาะที่เขาประดิษฐ์ขึ้น คือภาษาเควนยา และภาษาซินดาริน อย่างไรก็ดีคำศัพท์เหล่านั้นมักพ้องเสียงกับรูปภาษาโบราณอื่น ๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า (Old English) การศึกษาผลงานของโทลคีนโดยพิจารณารากศัพท์ในภาษาอังกฤษเก่า ช่วยให้เข้าใจจุดมุ่งหมายในการประพันธ์ของโทลคีนมากขึ้น
        เอลฟ์ ในผลงานของโทลคีน สื่อถึงอารยะธรรมอันเก่าแก่ ความทรงภูมิปัญญา และความดีงามของโลก ซึ่งส่วนหนึ่งสืบทอดไหลเวียนอยู่ในร่างกายมนุษย์ โทลคีนสื่อความหมายนี้โดยการประพันธ์ให้เผ่าพันธุ์เอลฟ์ ได้วิวาห์กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ มนุษย์ในยุคหลังจึงมีสายเลือดของเอลฟ์ผสมอยู่
        ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน การตื่นของเอลฟ์ เป็นจุดเริ่มต้นนับยุคที่หนึ่งของยุคแห่งพฤกษาพวกเอลฟ์เล่าสืบต่อกันมาว่า พวกเขาตื่นขึ้นที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในดินแดนไกลโพ้นทางฟากตะวันออกของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ กลุ่มที่ตื่นขึ้นเป็นกลุ่มแรกคือชาววันยาร์ กลุ่มที่สองคือ โนลดอร์ และกลุ่มที่สามคือชาวเทเลริ เวลานั้นโลกอาร์ดายังไม่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ มีแต่เพียงแสงสว่างจากแสงดาว พวกเอลฟ์จึงมองเห็นแสงดาวเป็นสิ่งแรก และหลงรักในแสงดาวเหล่านั้น เมลคอร์ เป็นคนแรกที่ล่วงรู้ถึงการตื่นของเหล่าเอลฟ์ จึงลอบมาทำร้ายและจับตัวพวกเอลฟ์ไปทรมาน บ้างเชื่อกันว่านี่เป็นที่มาของพวกออร์ค คือการที่เมลคอร์เอาตัวพวกเอลฟ์ไปทรมานจนวิกลวิการ เป็นการทำลายสิ่งประดิษฐ์แสนวิเศษของอิลูวาทาร์
        เมื่อเทพโอโรเมเสด็จประพาสมิดเดิลเอิร์ธคราวหนึ่ง จึงมาพบพวกเอลฟ์เข้า เหล่าวาลาร์ จึงมีดำริให้ชักชวนพวกเอลฟ์ให้เดินทางไปอยู่ด้วยกันกับพวกพระองค์ที่วาลินอร์ เพื่อให้รอดพ้นจากการรังควานของเมลคอร์ เกิดเป็นการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์ ซึ่งเป็นจุดแบ่งกลุ่มตระกูลของเอลฟ์อีกมากมายในเวลาต่อมา การแบ่งชาติพันธุ์ของเอลฟแบ่งได้เป็นกลุ่มดังต่อไปนี้
แบ่งตามการเข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่
       อวาริ : 'ผู้ปฏิเสธ' คือพวกที่ไม่ได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่
       เอลดาร์ : เอลฟ์แห่งแสงดาว ซึ่งเดิมเป็นชื่อเรียกเอลฟ์ทั้งหมด ต่อมาใช้เรียกพวกที่เข้าร่วมการเดินทางเท่านั้น
แบ่งตามการเดินทางไปถึงอามัน
       อามันยาร์ : เอลฟ์ที่ไปถึงอามัน
       อูมันยาร์ : เอลฟ์ที่ไปไม่ถึงอามัน
แบ่งตามการได้เห็นแสงแห่งพฤกษา
       คาลาเควนดิ : เอลฟ์แห่งแสงสว่าง คือพวกที่ได้เห็นแสงแห่งพฤกษา
       มอริเควนดิ : เอลฟ์แห่งความมืด คือพวกที่ไม่ได้เห็นแสงแห่งพฤกษา
       บางที่ก็กล่าวว่า เอลฟ์ คือสิ่งมีชีวิตอมนุษย์ในตำนานนอร์สและตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์เมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) เมื่อแรกเริ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพวกเอลฟ์คือ "ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพวาดของชนเหล่านี้มักเป็นมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่แลดูอ่อนเยาว์และงดงาม อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำ ใต้พื้นดิน หรือตามบ่อน้ำและตาน้ำพุ มักเชื่อกันว่าพวกเขามีชีวิตยืนยาวมากหรืออาจเป็นอมตะ รวมทั้งมีพลังเวทมนตร์วิเศษ"
       แต่หลังจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ผลงานอันโด่งดังของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏออกมา ภาพของเอลฟ์ก็กลายเป็นผองชนผู้เป็นอมตะและเฉลียวฉลาด ทั้งที่คำว่า เอลฟ์ ในวรรณกรรมของโทลคีนมีความหมายแตกต่างไปคนละทางกับตำนานโบราณโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ เอลฟ์ยังมีบทบาทสำคัญอยู่ในวรรณกรรมแฟนตาซีสมัยใหม่ และเป็นตัวละครพื้นฐานในเกมแฟนตาซียุคใหม่ด้วย
       พวกเอล์ฟตื่นขึ้นในยุคที่หนึ่งของ ยุคแห่งพฤกษา ที่ริมทะเลสาบ คุยวิเอเนน ทางตะวันออกของ มิดเดิ้ลเอิร์ธ เวลานั้นโลก อาร์ดา ยังไม่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ มีแต่เพียงแสงสว่างจากแสงดาว พวกเอล์ฟจึงมองเห็นแสงดาวเป็นสิ่งแรก และหลงรักในแสงดาวเหล่านั้น
       เทพโอโรเม เป็น วาลาร์ องค์แรกที่มาพบการตื่นของพวกเอล์ฟ และนำข่าวกลับไปแจ้งยังวาลินอร์ ในยุคนั้น**วาลาร์ทั้งปวงอาศัยอยู่ที่วาลินอร์บน ทวีปอามัน ส่วน มิดเดิ้ลเอิร์ธตกอยู่ใต้การก่อความวุ่นวายของ เมลคอร์
        เมลคอร์ยังลอบจับตัวเอล์ฟบางคนไปทรมานและดัดแปลงให้กลายเป็น ออร์ค เหล่าวาลาร์จึงมีดำริให้พวกเอล์ฟอพยพมาอยู่ที่ทวีปอามันด้วยกัน เมื่อนั้นจึงเกิดเป็น การเดินทางครั้งใหญ่ ( The Great Journey ) เป็นเหตุให้เกิดการแบ่งชาติพันธุ์ของเอล์ฟเป็นกลุ่มต่างๆ
        คำว่า "เอลฟ์" ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า ælf (บ้างเรียกว่า ylf) ซึ่งมาจากคำในตระกูลโปรโต-เยอรมันว่า *albo-z, *albi-z  ภาษานอร์สโบราณว่า álfr เยอรมันยุคกลางชั้นสูงว่า elbe ในตำนานอังกฤษยุคกลางนับถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือว่า เอลฟ์ (elf) เป็นเพศชาย ส่วนเพศหญิงจะเรียกว่า elven (ภาษาอังกฤษโบราณว่า ælfen ซึ่งมาจาก *albinnja)
       แต่รากคำดั้งเดิมยิ่งกว่านั้นน่าจะมาจากคำในภาษาตระกูล โปรโต-อินโด-ยู โรเปียน คือ *albh- ซึ่งมีความหมายว่า "ขาว" อันเป็นรากเดียวกันกับคำในภาษาละติน albus ที่แปลว่า "ขาว" อย่างไรก็ดีมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า คำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ Rbhus นายช่างนักพยากรณ์ในตำนานเก่าแก่ของอินเดีย  แนวคิดนี้ดูหนักแน่นกว่ารากคำในภาษาละตินมาก
คำเรียกเอลฟ์แบบต่างๆ ในภาษากลุ่มเจอร์เมนิก นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ มีดังนี้
เจอร์เมนิกเหนือ
        o นอร์สโบราณ : álfr พหูพจน์ álfar
        o ไอซ์แลนด์ : álfar, álfafólk และ huldufólk (ชนผู้ซ่อนตัว)
        o เดนมาร์ก : Elver, elverfolk หรือ alfer (คำว่า alfer ในปัจจุบันแปลว่า ภูต (fairies))
        o นอร์เวย์ : alv, alven, alver, alvene / alvefolket
        o สวีเดน : alfer, alver หรือ älvor (สำหรับคำเพศหญิง)
เจอร์เมนิกตะวันตก
        o ดัตช์ : elf, elfen, elven, alven
        o เยอรมัน : Elf (ชาย) , Elfe (หญิง) , Elfen "fairies", Elb (ชาย, พหูพจน์ Elbe หรือ Elben) [เป็นคำสร้างขึ้นใหม่ ส่วน Elbe (หญิง) เป็นคำในภาษาเยอรมันยุคกลางชั้นสูง Alb Alp (ชาย) พหูพจน์ Alpe มีความหมายเหมือนกับ "incubus" (ภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก alp พหูพจน์ *alpî หรือ *elpî) * โกธิค : *albs, พหูพจน์ *albeis (โปรคอพิอุส นักปราชญ์ชาวโรมัน มีชื่อเดิมว่า Albila)
        เอล์ฟในตำนานยุโรปเหนือ หรือ North mythology นั้น เป็นตำนานพวกสแกนดิเวเนีย(ได้แก่ ไอซ์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์) ซึ่งเอล์ฟของชาวยุโรปเหนือจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเรียกว่า "เอล์ฟสว่าง" กับอีกกลุ่มเรียกว่า "เอล์ฟมืด" ซึ่งพวกเอล์ฟมืดจะอยู่ใต้ดินและมีความชำนาญด้านโลหะ
         โลกแห่งเอล์ฟสว่าง ตามความเชื่อของชาวยุโรปเหนือนั้น โลกจะแบ่งออกเป็น 9 โลก โดยทั้ง 9โลก จะเชื่อมต่อกันด้วยพฤกษาขนาดใหญ่ที่มีนามว่า"อิกก์ดราซิลล์" โลกของเอล์ฟสว่างมีชื่อว่า "อัลฟ์ไฮม์" ซึ่งอยู่สูงกว่า "มิดโกร์ด" หรือโลกมนุษย์ ว่ากันว่าอัลฟ์ไฮม์อยู่ใกล้เคียงกับ "อัสโกร์ด" หรือดินแดนเทพของ"แอร์ซิร์" ซึ่งเป็นเผ่าเทพที่ทรงอำนาจที่สุด ถ้าจะให้สรุปก็คือเอล์ฟสว่างน่าจะมีระดับที่สูงรองลงมาจากระดับเทพนั่นเอง
         เอล์ฟสว่างมีรูปร่างคล้ายคลึงกับมนุษย์ มีความสวยงามทั้งชายหญิง แต่เอล์ฟสว่างบทบาทในตำนานยุโรปเหนือนั้นแทบไม่ได้รับการใส่รายละเอียดเท่าไหร่เลย รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ไม่มีระบุว่าเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ ในวันสำคัญอย่างวัน Ragnarok ซึ่งเป็นวันสงครามวันล้างโลกของชาวยุโรปเหนือ เรื่องราวส่วนใหญ่ไปจับอยู่กับการสู้กันระหว่างเทพกับมารมากกว่าจะเจาะลึกไปถึงพวกเอล์ฟด้วย
        โลกของเอล์ฟมืดนั้นมีชื่อว่า "สวาร์ทัลฟ์ไฮม์" ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าโลกของเอล์ฟมืดอยู่ใต้ดิน ซึ่งอยู๋ใต้โลกมนุษย์ แต่ยังไปไม่ถึง "นิฟล์ไฮม์" หรือโลกแห่งนรก บางครั้งพวกเอล์ฟมืดก็ถูกระบุว่ามีลักษณ์คล้ายคนแคระ ตรงส่วนนี้ยังเป็นที่สับสนค่อนข้างมาก เพราะตำนานทางยุโรปเหนือก็มีการรุบุถึงคนแคระไว้อยู่แล้ว โดยโลกของคนแคระนั้นมีชื่อว่า "นิดาเวลลิร์" ซึ่งน่าจะอยู่ใกล้กับ "สวาร์ทัลฟ์ไฮม์" ของพวกเอล์ฟมืดของตำนานยุโรปเหนือ ซึ่งแสงแดด สำหรับพวกเอล์ฟมืดแล้วถือเป็นสิ่งมีพิษมีภัยทีเดียว เพราะจะทำให้มันทรมานและกลายเป็นหินได้
 

 

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เงือก(Mermaid)




 เงือก(Mermaid)

 


                    จากตำนานกล่าวว่า เงือก หรือ นางเงือก เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำโดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำมักเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์มีส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคนส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลาในหลายประเทศทั่วโลกมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมายเงือกเป็นปริศนาเร้นลับหลายศตวรรษที่ผ่านมามีเรื่องเล่าขานกันว่าถ้าบนบกมีสัตว์ที่ครึ่งคนครึ่งม้าในน้ำก็ต้องมีครึ่งคนครึ่งปลาข้อสรุปนี้อาจเป็นสมมุติฐานที่เลื่อนลอยแต่เราเคยพบปลารูปร่างหน้าตาเหมือนหมูแต่ไม่ได้หมายความว่าในน้ำมีหมูอยู่จริง
         เงือกในภาษาอังกฤษคือMermaidแปลว่าหญิงสาวแห่งท้องทะเลเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานร่างกายครึ่งบนเป็นหญิงสาวครึ่งล่างเป็นปลาส่วนพวกพ้องเธอที่เป็นเพศชายจะเรียกว่าเมอร์แมน(Merman)จากตำนานเล่าว่าเงือกเป็นอมนุษย์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำเชื่อกันว่าเงือกพวกนี้อาจมีถิ่นกำเนิดบนฝั่งบริตานีและเดินทางว่ายข้ามข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังคอร์วอลล์ซึ่งเป็นที่มาให้ผู้คนเรียกชื่อสถานที่แห่งนี้ว่าเมอร์เมดเมอร์แมน(เงือกตัวเมีย-ตัวผู้)ซึ่งเป็นคำผสมของภาษาแองโกลและฝรั่งเศสเมื่อว่ายน้ำมาถึงคอร์นวอลล์เงือกก็จะขยายพันธุ์ไปไกลจนถึงทะเลฝั่งตะวันตกของเกาะอังกฤษและเลยไปถึงรอบๆประเทศสกอตแลนด์ตอนเหนือสู่สแกนดิเนเวียนอกจากนี้ยังอาจมีบางครั้งที่เราสามารถพบเห็นเงือกได้ตลอดแนวฝั่งยุโรปและตลอดแนวฝั่งแอตแลนติกของประเทศอังกฤษกับไอร์แลนด์แต่ละประเทศก็มีตำนานเล่าถึงการกำเนิดของนางเงือกในรูปแบบที่แตกต่างกัน
 โดยที่ไอริชแห่งไอร์แลนด์เรียกเงือกว่าเมอร์โรว์และเมอรูชาบางครั้งนางเงือกก็ได้รับสมญานามว่าพรหมจารีแห่งทะเลลักษณะสวยงามดั่งกระจกของนางเงือกคือสิ่งที่แทนวงพระจันทร์และผมที่สยายยาวคือสาหร่ายทะเลหรือรังสีบนผิวน้ำ(Jobe)แต่บางครั้งก็กล่าวว่ากะลาสีเรือที่เดินทางไปในเรือนานๆเข้าไม่ได้เห็นผู้หญิงเลยก็เกิดภาพหลอนขึ้นมาซึ่งนั่นหมายความว่านางเงือกไร้ตัวตนอย่างสิ้นเชิงแต่พวกเดินทางทางเรือเกิดจินตนาการเพราะว้าเหว่คิดถึงครอบครัวความเชื่อในเรื่องดังกล่าวบางคนเสนอว่าบางทีอาจเป็นเพราะผู้คนในสมัยโบราณเข้าใจผิดคิดว่าพะยูนคือเงือกก็เป็นได้
       โดยหากเป็นนิทานพื้นบ้านของโรมันจะกล่าวไว้ว่าเมื่อครั้งที่มีสงครามกรุงทรอยได้มีเศษไม้ที่แตกมาจากซากเรือรบที่ถูกเผาวอดวายและเศษไม้เหล่านั้นก็ได้กลายสภาพมากำเนิดเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าเงือกส่วนชาวไอริชก็มีตำนานเล่าว่านางเงือกคือหญิงสาวนอกศาสนาที่ถูกขับไล่ให้ออกไปจากแผ่นดินส่วนบางท้องถิ่นก็เชื่อกันว่าแท้ที่จริงแล้วชาวเงือกคือบรรดาลูกของกษัตริย์ฟาโรห์ที่จมน้ำตายในทะเลแดง

       ส่วนตำนานของเทพกรีกได้มีความเชื่อว่าต้นตระกูลของเงือกคือไตรตอนซึ่งมีบิดาคือเทพโพเซดอนผู้เป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมีมารดาเป็นพรายน้ำสาวตนหนึ่งโดยหากกล่าวถึงไตรตอนผู้คนมักจะนึกถึงไตรตอนที่มีหางเป็นปลามีหนวดเครายาวและมีอำนาจยิ่งใหญ่ในท้องทะเลที่พักของไตรตอนอยู่ในปราสาททองคำที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ทะเลลึกไตรตอนมีอาวุธเป็นตรีศูล(ฉมวกสามง่าม)และคอยเป่าแตรหอยสังข์เพื่อใช้ควบคุมความสงบให้แก่ท้องทะเลด้วยเหตุนี้ไตรตอนจึงมีอีกหนึ่งสมญานามว่านักเป่าแตรแห่งท้องทะเลบางตำนานก็เล่าว่าชาวเงือกรุ่นบุกเบิกแท้จริงแล้วคือโอนเนส(Oannes)ผู้เป็นเทพแห่งทะเลของชาวบาบิโลนซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้โอนเนสมีร่างกายเป็นมนุษย์แต่มีศีรษะเป็นปลานอกจากนี้เทพผู้นี้ยังถือเป็นผู้มีพลังอำนาจต่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อีกด้วยโดยโอนเนสมักจะปรากฏกายขึ้นมาจากท้องทะเลในช่วงเวลาเช้าและหายตัวไปในทะเลตอนเวลาค่ำในทุกๆวันเมื่อเวลาผ่านไปเทพอียา(Ea)ผู้มีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งปลาเช่นกันกับโอนเนสได้ขึ้นมามีบทบาทแทนที่โอเนสจึงเชื่อถือกันว่าเทพเจ้าอียาเป็นบรรพบุรุษของเงือกนั่นเองส่วนเทพเจ้าอาทาร์การ์ติส(Atargartis)ก็ถือเป็นตัวแทนแห่งดวงจันทร์ซึ่งมีลักษณะรูปร่างเป็นครึ่งคนครึ่งปลาสำหรับสาเหตุที่เทพเจ้าหลายองค์ของชาวบาบิโลนมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งปลานี้ก็เพราะพวกเขามีความเชื่อว่าในทุกๆวันดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะขึ้นและจมหายลงไปในทะเลทุกครั้งดังนั้นเทพเจ้าที่เขานับถือจึงควรมีรูปร่างลักษณะที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำเรื่องเล่าทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งเร้นลับที่ยังไม่มีใครสามารถอธิบายได้เงื่อนงำทั้งหมดยังคงซ่อนอยู่และถูกสืบทอดต่อกันมาหลายๆปีซึ่งเล่าผ่านเรื่องราวของเงือกว่ากันว่ากระจกที่นางเงือกใช้สำหรับส่องนั้นถือเป็นตัวแทนของดวงจันทร์ซึ่งการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ไปรอบโลกทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงซึ่งความเชื่อมโยงกันของสองสิ่งนี้ได้ช่วยให้ตำนานนางเงือกมีความซับซ้อนและพิสดารมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม
         หลังจากที่คริสตศาสนาได้เริ่มมีขึ้นตำนานนางเงือกก็ถูกปรับเปลี่ยนแง่มุมไปจากเดิมศาสนาคริสต์เชื่อว่านางเงือกสามารถมีชีวิตจิตใจและมีวิญญาณได้หากแต่จะต้องให้คำสัญญาว่าจะอาศัยอยู่บนบกตลอดไปโดยไม่คิดกลับคืนสู่ใต้ทะเลอีกแต่เรื่องดังกล่าวกลับเป็นไปไม่ได้และสร้างความทุกข์ใจอย่างแสนสาหัสให้แก่เธอเป็นอย่างมากแม้ว่าเงือกเหล่านี้จะอาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลแต่พวกมักก็มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเองเช่นกันไม่แตกต่างไปจากมนุษย์ที่อยู่บนบกอย่างไรก็ตามเงือกก็สามารถพูดภาษาคนปกติบนแผ่นดินที่อยู่ไม่ไกลจากตัวมันได้เช่นกันส่วนอุปนิสัยของเงือกนั้นเป็นที่รู้กันว่านางเงือกชอบออกมาท่องเที่ยวตามชายฝั่งบางครั้งก็จะออกมานั่งหวีผมที่ยาวสลวยอยู่บนหากทรายหรือนั่งฟังเสียงคลื่นเสียงนกร้องบ้างก็มีเงือกจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่มีปัญญาที่ฉลาดที่สุดอีกทั้งยังมีความว่องไวเกินกว่าที่ใครจะเข้าไปยุ่งเรื่องของพวกมันได้ อาหารของนางเงือก ก็คือ ปลาและอาหารทะเลอื่น ๆ
         อย่างไรก็ตามนางเงือกไม่เคยจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการตกปลาของชาวประมงเลยเว้นเสียแต่ว่ามนุษย์นั่นแหละที่มักจะเข้าไปรุกรานความสงบสุขของนางเงือกอยู่เสมอนางเงือกเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจเพราะนางมีความสวยและมีความลึกลับทำให้เกิดความน่าค้นหานางเหงือกที่มีผมสีบลอนด์แก่อ่อนต่างระดับจะเรียกกันว่าสตรอเบอร์รีบลอนด์อีกทั้งยังมีดวงตาสีเขียวหรือเขียวอมฟ้ากลมโตซึ่งเป็นสีเดียวกับน้ำทะเลด้วยส่วนผิวพรรณในส่วนที่คล้ายคนก็มีสีขาวบริสุทธ์ราวกับไข่มุกสัดส่วนองค์เอวของนางเงือกก็ดูสมส่วนพอเหมาะสวยงาม เมื่อนางเงือกลงไปอยู่ในทะเลจึงมองดูเหลือบเป็นสีเงิน 
        นอกจากนี้ชาวเงือกยังมีอายุที่ยาวนานกว่าที่นางเงือกจะโตหรือจะแก่ได้จะใช้เวลาที่ยาวนานกว่ามนุษย์หลายเท่าทำให้ยากที่จะสามารถเดาอายุที่แท้จริงของนางเงือกได้ด้วยเหตุนี้นางเงือกจึงสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างยาวนานและมีช่วงเวลาของการเป็นสาวที่ยาวนานหลายปีเลยทีเดียว
         ส่วนนายเงือกที่เป็นชายก็มีรูปร่างหน้าตาหล่อเหลาและจะมีรูปร่างบึกบึนร่างกายปกคลุมไปด้วยขนและมีผิวสีคล้ำกว่านางเงือกที่เป็นเพศเมียส่วนการปรากฏตัวของนายเงือกก็ดูอ่อนโยนมากกว่าบุคลิกที่แสดงออกมาอย่างมากเลยทีเดียวด้วยความที่เงือกเป็นสิ่งที่ไม่มีวิญญาณแต่กลับมีอำนาจเหนือธรรมชาติซึ่งมีผลให้เป็นอมตะและสามารถล่วงรู้อนาคตได้อย่างไรก็ตามพวกมันมักจะมีนิสัยเห็นแก่ตัวไร้สาระและอิจฉาริษยาด้วย 

โดย Mermaid ได้ปรากฎตัวในภาพยนต์และอนิเมชั่นเรื่อง

Aquamarine





Mermaid Melody
 



 Pan


The Little Mermaid